หลัก 4 ประการของการจัดพอร์ตประกันสุขภาพ
ให้ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล
มีโอกาสได้อ่านหนังสือการเงินการธนาคาร
ฉบับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
มีการแนะนำลูกค้าให้จัดพอร์ตประกันสุขภาพไว้น่าสนใจ
อยากหยิบยกมาเป็นแนวทางให้ทุกท่านได้อ่านกันนะคะ
ประการที่ 1 สำรวจค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ค่าแพทย์ ค่าพยาบาล ค่าบริการต่าง ๆ ของโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าไปรักษาเมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
ว่าสามารถชำระเบี้ยประกันเพื่อให้ได้วงเงินความคุ้มครองที่ครอบคลุมกับโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าไปรักษาหรือหากเกินกว่ากำลังซื้อที่มีก็อาจจะต้องมองหาโรงพยาบาลที่มีบริการระดับรองลงมาเพื่อให้ค่าใช้จ่ายครอบคลุมบริการทางการแพทย์ตามที่ต้องการ
ตัวอย่างเช่น
กรณีการผ่าตัดเต้านมในคนที่เป็นมะเร็งอาจจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ในช่วงประมาณ 170,000-330,000 บาทหรือถ้าเป็นการฉายแสงสำหรับโรคมะเร็ง คอร์สหนึ่งประมาณ 2,000,000-600,000 บาท
กรณีที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจตีบหากรักษาด้วยการทำบอลลูนก็จะมีค่ารักษาประมาณ 180,000-620,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ
หากมีการผ่าตัดเปิดหน้าอกเพื่อทำการเบี่ยงแทนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบหรือที่เรียกว่าทำบายพาสจากจะมีค่ารักษาพยาบาลประมาณ 500,000-1,120,000 บาท
ประการที่ 2 พิจารณาเงื่อนไขความคุ้มครองให้เข้าใจ
การทำประกันสุขภาพหรือโรคร้ายแรง แม้จะได้รับกรมธรรม์แล้วแต่ยังไม่สามารถจะเคลมสุขภาพได้ในทันทีเนื่องจากการทำประกันสุขภาพจะมีระยะเวลารอคอย (Waiting Period) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้ทำประกันจะยังไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยได้ โดยกำหนดไว้หลังทำประกันแล้วต้องมีระยะเวลารอคอย 90 วัน
เมื่อผู้ทำประกันพิจารณาแล้วพึงพอใจกับเงื่อนไขที่ได้รับและควรเลือกแผนประกันที่มีค่าชดเชยรายวันด้วย เนื่องจากเมื่อเกิดเจ็บป่วยเข้ารักษาตัว ทำให้ก็สามารถนำมาชดเชยรายได้ที่สูญเสียไประหว่างการเจ็บป่วยได้
ประการที่ 3 พิจารณาตามความสามารถในการจ่ายและเป้าหมาย
เลือกแบบประกันสุขภาพหรือโรคร้ายแรงที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง อัตราเบี้ยประกันที่สามารถชำระได้ไปจนครบอายุสัญญา
ประการที่ 4 เลือกบริษัทประกันที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ
บริษัทประกันที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลที่ครอบคลุมมากที่สุดบริษัทประกันที่ให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว เป็นต้น
หวังว่าทุกท่านจะช่วยกันจัดพอร์ตให้ลูกค้าเพื่อปกป้องความเสี่ยงที่ส่งผลต่อรายได้และเงินออมในชีวิตประจำวันของลูกค้านะคะ
ด้วยรัก
ทีมงานอยากเป็นนักวางแผนการเงิน
อ้างอิง : หนังสือการเงินการธนาคาร เดือนสิงหาคม 2020 หน้า 50
Comments